การทดสอบความแข็งด้วย Durometer

Durometer มีหลายชนิด การเลือกใช้งานขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุที่จะทดสอบ โดย หลักการทำงานของเครื่องแต่ละแบบจะเหมือนกัน ต่างกันเฉพาะความคมของปลายแหลม ของหัวกดและขนาดของน้ำหนักกดที่ได้จากแรงส่งของสปริงขนาดต่างๆ การวัดค่าความแข็ง จะได้จากค่าความลึกของรอยกด โดยค่าความแข็งจะเริ่มจาก 100 ที่ความลึกรอยกดเท่ากับ ศูนย์ จนถึงค่าความแข็งเท่ากับศูนย์ที่ความลึกรอยกด 0.1 นิ้ว โดยน้ำหนักกดที่กระทำกับหัว กดจะแปรผกผันกับความลึกรอยกด กล่าวคือวัสดุแข็งที่ให้ความลึกรอยกดน้อยให้เลือกใช้ Durometer ที่มีน้ำหนักกดสูงๆ ส่วนวัสดุอ่อนที่ให้ความลึกรอยกดมากให้ใช้ชนิดที่มีน้ำหนัก กดต่ำๆ ชิ้นทดสอบควรมีความหนาอย่างน้อย 1/4 นิ้ว และในการทดสอบให้เว้นระยะจาก ขอบชิ้นทดสอบอย่างน้อย 1/2 นิ้ว ผลการทดสอบที่ได้จากการทดสอบด้วย Durometer ชนิด หนึ่งไม่สามารถใช้เปรียบเทียบหรือแปลงค่าไปเป็นค่าความแข็งของ Durometer อีกชนิดหนึ่งได้

 

Durometer แบบ Shore เป็นเครื่องทดสอบด้วยมือซึ่งออกแบบให้ใช้ในการทดสอบ ความแข็งกับวัสดุอ่อน เช่น ยาง พลาสติก และวัสดุประกอบต่างๆ (composites) รูปที่ 7.8 แสดงเครื่องทดสอบ Durometer แบบ Shore ซึ่งมีสองชนิดพื้นฐานได้แก่ Shore A กับ D ทั้ง สองชนิดนี้มีขั้นตอนการทดสอบเหมือนกัน คือสปริงจะส่งน้ำหนักไปยังหัวกดซึ่งจะกดลงบน พื้นผิวของชิ้นทดสอบ ความต้านทานต่อการเกิดรอยกดของพื้นผิวชิ้นทดสอบสามารถอ่านค่า ได้โดยตรงจากหน้าปัด Durometer โดยแบบ A จะมีสปริงที่ให้น้ำหนักกดระหว่าง 56-822 กรัม ส่วนแบบ D น้ำหนักกดอยู่ในช่วง 0-10 ปอนด์ ทั้งสองแบบนี้อ่านค่าความแข็งได้จาก 0- 100 กล่าวคือวัสดุที่อ่านค่าได้สูงแสดงว่ามีความแข็งมากหรือมีความต้านทานต่อการเกิดรอย กดได้สูง ส่วนการแสดงหน่วยจะขึ้นอยู่กับชนิดที่ใช้เช่น 50A หรือ A50 เป็นต้น รายละเอียด เกี่ยวกับลักษณะของหัวกด น้ำหนักกดที่ได้จากสปริง ลักษณะการใช้งานของสเกลต่างๆ ดัง แสดงในตารางที่ 7.2 ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐาน ASTM D2240

ขอบคุณที่มา: http://e-book.ram.edu/e-book/m/MY318(51)/MY318-7.pdf

Leave a reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *