Blog
บทความ ไมโครมิเตอร์ (Micrometer)
ไมโครมิเตอร์ (Micrometer) ไมโครมิเตอร์เป็นอุปกรณ์วัดละเอียดอีกชนิดหนึ่งที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ อย่างแพร่หลายไมโครมิเตอร์ถือกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ. 1848 โดยชาวฝรั่งเศส หลังจากได้รับความนิยมก็ได้มีการพัฒนาปรับปรุงให้สามารถใช้งานได้สะดวกและละเอียดมากขึ้นตามลำดับ ไมโครมิเตอร์วัดนอก (Outside Micrometer Caliper) 1.) ลักษณะโดยทั่วไปของไมโครมิเตอร์วัดนอก ไมโครมิเตอร์แบบใช้วัดขนาดภายนอกจะอาศัยหลักการทำงานของเกลียวที่จะเกิดค่าระยะพิตช์ เมื่อทำการหมุนเกลียวไป 1 รอบ ก็จะได้ระยะพิตช์เท่ากับ 1 (1 Pitch) ซึ่งระยะพิตช์นี่เองที่ได้ถูกนำไปเปรียบเทียบกับการเคลื่อนที่ของเกลียว 1 ช่อง กับสเกลหลักบรรทัดเหล็ก เช่น ถ้าเราแบ่งระยะบรรทัดเหล็กออกเป็น 20 ส่วน แล้วหมุนเกลียว 1 ช่อง ผ่านบรรทัดเหล็ก จะได้ระยะ 1/20 ของระยะพิตช์ ซึ่งหลักการนี้ถูกนำไปสร้างเป็นไมโครมิเตอร์ ภาพแสดงไมโครมิเตอร์วัดนอก ชื่อส่วนประกอบและหน้าที่ของไมโครมิเตอร์วัดนอก ภาพแสดงส่วนประกอบของไมโครมิเตอร์ ชื่อส่วนประกอบ หน้าที่ 1. แกนรับ • หน้าที่รองรับการวัดที่ผิวสัมผัสของแกนรับจะชุบผิวแข็งเพื่อป้องกันการสึกหรอ 2. แกนวัด •…
บทความ วิธีการใช้งานและการตั้งค่า Analog Bore Gauge
วิธีการใช้งานและการตั้งค่า Analog Bore Gauge ส่วนประกอบของเครื่องมือ Analogue Bore Gauge วิธีการอ่านค่า เครื่อง Analog bore Gauge ทุกรุ่นจะมีค่าความละเอียดอยู่ที่ 0.005 มม. ที่แกน Sleeve จะมีค่าบอกระยะ และที่แกนหมุน Thimble 1 รอบจะมีค่าเท่ากับ 0.5 มม. ดังนั้นการอ่านค่าให้เริ่มอ่านค่าจากแกน sleeveให้ใกล้เส้นที่แสดงหน่วย มม.ก่อนจากนั้นให้เอาค่าที่อ่านได้ไปรวมกับค่าละเอียดที่อยู่บนแกน Thimble ตามรูปตัวอย่างด้านล่างนี้ จะสามารถอ่านค่าได้ 16.015 มม. ตัวอย่างการอ่านค่า การตั้งค่าเครื่องใหม่ เมื่อเครื่องมือเริ่มมีอาการอ่านค่าไม่เที่ยงตรงเหมือนเดิมเราสามารถทำการตั้งค่าเครื่องใหม่ได้ตามขั้นตอนดังนี้ นำเครื่องมือมาเสียบไว้ในวงแหวนสำหรับตั้งค่า จากนั้นทำการหมุน Ratchet เพื่อให้ bore gauge แน่นตึงกับวงแหวนพอดี ล็อค Spindle โดยการขันสกรูที่ตรงรูของ Grip-ring ถอด Ratchet controller โดยการคลายสกรูที่ปลาย Ratchet controller ออก สามารถปรับ Thimble ให้ตรงตามวงแหวนตั้งค่า จากนั้นให้ใส่ Ratchet control กลับและขันสกรูให้แน่นเมือนเดิม ทำการตรวจวัดค่ากับวงแหวนตั้งค่าอีกครังว่าค่าที่ตั้งใหม่มีความถูกต้องแม่นยำหรือไม่ การปรับแต่ง Taper Nut การปรับแต่ง Taper Nut ถอดชุด Thimble & Spindle ออกตามรูป เสียบประแจเข้าไปในช่องของ Taper Nut ทองเหลือง หมุนปรับ Taper nut เพียงเล็กน้อยเพื่อชดเชยค่าที่ผิดเพี้ยนไป ประกอบส่วน Thimble & Spindle คืนแล้วทำการตรวจค่าอีกครั้ง
2019 Roadshow Seminar The Future of 5.0 Manufacturing
The Future of 5.0 Manufacturing Roadshow Seminar @ สถาบันไทย-เยอรมัน อมตะนคร จ.ชลบุรี ปีนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2562 ได้ผ่านไปแล้ว งานนี้จัดสัมนาเชิงวิชาการนำโดยบริษัท โทนัน อาเชีย ออโต้เทค จำกัด มีชื่องานว่า อุตสาหกรรมยุค 5.0 อนาคตที่ต้องรู้ (The Future of 5.0 Manufacturing) ภายในงานมีการบรรยายโดยผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาอาชีพ ในหัวข้อที่เป็นประโยชน์ และได้ความรู้ด้านอุตสาหกรรม รวมถึงการออกบูธแสดงสินค้าและเทคโนโลยีกว่า 10 บูธจากบริษัทชั้นนำ ทางบริษัท โทนัน อาเซีย ออโต้ เทค จำกัด “ขอขอบพระคุณลูกค้าทุกท่านเป็นอย่างสูง” ที่มาร่วมงานสัมมนาในครั้งนี้ ทางทีมงานจะจัดกิจกรรมดีๆที่มี ประโยชน์ให้กับลูกค้า และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับการสนับสนุนจากลูกค้าในครั้งต่อไป มาชมประมวลภาพกันค่ะ แล้วพบกันใหม่ในปีหน้านะคะ สวัสดีค่ะ Thank you and see you…
บทความ ขนาดแรงม้า (HP) กิโลวัตต์ (kW) และกิโลโวลต์แอมแปร์ (kVA) สัมพันธ์กันอย่างไร ?
ขนาดแรงม้า (HP) กิโลวัตต์ (kW) และกิโลโวลต์แอมแปร์ (kVA) สัมพันธ์กันอย่างไร ? ทั้งสามเป็นหน่วยบอกขนาดกำลังของเครื่องจักรอุปกรณ์ โดยที่เครื่องจักรกล เช่น กังหันก๊าซหรือกังหันไอน้ำ ใช้ได้เฉพาะหน่วย HP และ kW ขณะที่เครื่องจักรไฟฟ้า เช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้า สามารถใช้ได้ทั้งสามหน่วย 1 HP = 746 W หรือ 0.746 kW 5 HP = 3730 W หรือ 3.73 kW ขนาดพิกัดกำลังการผลิตของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Nominal Rated Capacity) นอกจากจะระบุเป็นกำลังไฟฟ้าใช้งานจริง kW (Active Power) แล้ว สามารถระบุได้เป็นกำลังไฟฟ้าปรากฏ kVA (Apparent Power) ด้วย โดยมีสัดส่วนระหว่างกันเป็นค่าตัวประกอบกำลัง (Power Factor) ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 0.8…