การวัดระดับเสียงจากกิจกรรมต่างๆ มีหน่วยเป็น เดซิเบลเอ (Decibel A) มีตัวอย่างดังนี้
เครื่องบิน |
130 |
เดซิเบลเอ |
เสียงเจาะถนน |
120 |
เดซิเบลเอ |
โรงงานผลิตอลูมิเนียม |
100-120 |
เดซิเบลเอ |
วงดนตรีร็อค |
108-114 |
เดซิเบลเอ |
งานค็อกเทลที่มีแขกประมาณ 100 คน |
100 |
เดซิเบลเอ |
รถสามล้อเครื่อง |
92 |
เดซิเบลเอ |
รถบรรทุกสิบล้อ |
96 |
เดซิเบลเอ |
รถยนต์ |
85 |
เดซิเบลเอ |
รถจักรยานยนต์ |
88 |
เดซิเบลเอ |
เสียงคนพูดโดยทั่วไป |
50 |
เดซิเบลเอ |
องค์การอนามัยโลก กำหนดระดับเสียงเป็นพิษหรือดังเกินไปไว้ที่ 85 เดซิเบลเอ และระดับเสียงที่บุคคลทนรับฟังได้คือ 120 เดซิเบลเอ สำหรับประเทศไทยกำหนดค่ามาตรฐานระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมงไว้ที่ 70 เดซิเบลเอ ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติฉบับที่ 15 (พ.ศ.2540) เรื่องกำหนดมาตรฐานระดับเสียงโดยทั่วไป
เราจะรู้สึกเจ็บปวดเมื่อได้รับฟังเสียงที่ดังเกินกว่า 130 เดซิเบลเอ แต่การรับฟังเสียงที่มีความดัง 70 เดซิเบลเออย่างต่อเนื่องทั้งวันก็อาจทำให้ประสาทหูเสื่อมได้ การกำหนดว่าเสียงใดเป็นเสียงรบกวนขึ้นอยู่กับปัจจัยส่วนบุคคล เช่น สภาพอารมณ์ขณะรับฟังเสียง ลักษณะของงาน สถานที่ เวลา ความทนทานและความดังของเสียง เป็นต้น หากพบว่าการยืนห่างกันประมาณหนึ่งช่วงแขนแล้วพูดคุยกันด้วยระดับเสียงปกติแล้วไม่ได้ยินหรือไม่เข้าใจกัน แสดงว่าบริเวณนั้นมีเสียงดังถึงขั้นอันตรายต่อระบบการได้ยิน
ขอบคุณข้อมูลจาก: http://www.thaigoodview.com/library/sema/sukhothai/sureeporn_j/toxic/sec03p02.html
picture credit: https://www.watchmojo.com/video/id/23212