ไมโครมิเตอร์ (Micrometer)
ไมโครมิเตอร์เป็นอุปกรณ์วัดละเอียดอีกชนิดหนึ่งที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ อย่างแพร่หลายไมโครมิเตอร์ถือกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ. 1848 โดยชาวฝรั่งเศส หลังจากได้รับความนิยมก็ได้มีการพัฒนาปรับปรุงให้สามารถใช้งานได้สะดวกและละเอียดมากขึ้นตามลำดับ
ไมโครมิเตอร์วัดนอก (Outside Micrometer Caliper) 1.) ลักษณะโดยทั่วไปของไมโครมิเตอร์วัดนอก ไมโครมิเตอร์แบบใช้วัดขนาดภายนอกจะอาศัยหลักการทำงานของเกลียวที่จะเกิดค่าระยะพิตช์ เมื่อทำการหมุนเกลียวไป 1 รอบ ก็จะได้ระยะพิตช์เท่ากับ 1 (1 Pitch) ซึ่งระยะพิตช์นี่เองที่ได้ถูกนำไปเปรียบเทียบกับการเคลื่อนที่ของเกลียว 1 ช่อง กับสเกลหลักบรรทัดเหล็ก เช่น ถ้าเราแบ่งระยะบรรทัดเหล็กออกเป็น 20 ส่วน แล้วหมุนเกลียว 1 ช่อง ผ่านบรรทัดเหล็ก จะได้ระยะ 1/20 ของระยะพิตช์ ซึ่งหลักการนี้ถูกนำไปสร้างเป็นไมโครมิเตอร์
ภาพแสดงไมโครมิเตอร์วัดนอก
ชื่อส่วนประกอบและหน้าที่ของไมโครมิเตอร์วัดนอก
ภาพแสดงส่วนประกอบของไมโครมิเตอร์
ชื่อส่วนประกอบ | หน้าที่ |
1. แกนรับ | • หน้าที่รองรับการวัดที่ผิวสัมผัสของแกนรับจะชุบผิวแข็งเพื่อป้องกันการสึกหรอ |
2. แกนวัด | • เลื่อนสัมผัสวัดขนาดของชิ้นงานผิวสัมผัสจะชุบผิวแข็งเหมือนกับแกนรับและขนาดของแกนวัดเท่ากับแกนรับ |
3. ปลอกหมุนวัด | • หมุนเลื่อนให้แกนวัดสัมผัสชิ้นงานในทิศทางตามเข็มนาฬิกา ส่วนที่ลายสำหรับมือจับ |
4. เกลียว | • เป็นส่วนเดียวกับแกนวัดมีระยะพิตช์เท่ากับ 0.5 มม. |
5. ปลอกหมุนกระทบเลื่อน | • ป้องกันแกนวัดในการเลื่อนสัมผัสผิวงานวัดเพื่อให้ได้ค่าวัดที่ถูกต้อง |
6. กลไกล็อคแกนวัด | • ล็อคหรือบีบแกนวัดไม่ให้เคลื่อนที่ และคลายเมื่อต้องการให้แกนวัดเคลื่อนที่ |
7. ก้านสเกล | • ปลอกขีดสเกลแบ่งตามแนวยาว |
8. ขีดสเกล 0.01 มม. | • อยู่บนปลอกหมุนวัด แต่ละช่องสเกลมีค่าความละเอียด 0.01 มม. |
9. โครง | • เป็นตัวรองรับส่วนประกอบต่าง |