บทความ เครื่องมือทั่วไป (GENERAL HAND TOOL)
เครื่องมือขนาดเล็กที่ทำงานด้วยมือ (HAND TOOL) มีหลายชนิดที่นักศึกษาช่างอุตสาหกรรม
จะต้องรู้จักรูปร่างและวิธีใช้งาน เครื่องมือขนาดเล็กนี้มีบทบาทในชีวิตประจำวันของของประชาชนใน
ปัจจุบันมากที่เดียว ซึ่งนักศึกษาบางคนอาจเคยเห็นเคยใช้งานแต่ยังใช้ไม่ถูกวิธี หรือใช้ทุกวันจนชำนาญ
แล้วก็มีแต่อย่างไรก็ตามเมื่อศึกษาต้องตามหลักการทำงานเพื่อประหยัดเวลา ชะลอการชำรุดของ
เครื่องมือจากการใช้ถูกวิธีและการเกิดอุบัติเหตุ
ชนิดของเครื่องมือทั่วไป และการใช้งาน
1.ค้อน(HAMMERS)
ค้อนที่ใช้งานในปัจจุบันมีหลายประเภท มีรูปร่าง และลักษณะการใช้งานแตกต่างกันไปค้อนที่
ทำด้วยเหล็กกล้าชุบแข็งเหนียว เหมาะสำหรับรับแรงกระแทก แรงอัดได้ดี ส่วนค้อนที่ทำจากโลหะเบา
หรือวัสดุอ่อน เช่นค้อทองเหลือง ค้อนยางหรือค้อนพลาสติก สามารถใช้ได้ดีในการดัดโค้งพับโลหะ
แผ่นหรือโลหะอ่อนที่รับแรงอัดไม่ได้ ค้อนมีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือส่วนหัว และส่วนด้ามค้อน ซึ่ง
ส่วนใหญ่ด้ามจะทำด้วยไม้ช่วยให้มีน้ำหนักเบาและลดแรงสั่นสะเทือนมายังมือจับ ในปัจจุบันได้มีการ
นำพลาสติกแข็งมาทำด้ามค้อนแทนไม้กันบ้างแล้ว
ได้มีผู้แบ่งชนิดของค้อนไว้แต่ละประเภทตามชนิดของความแข็งและการใช้งาน ในที่นี้ได้แบ่ง
ชนิดของหัวค้อนเป็น 2 ประเภทง่าย ๆ
1.ค้อนหัวแข็ง
2.ค้อนหัวอ่อน
1.ค้อนหัวแข็ง ทำด้วยเหล็กกล้าชุบแข็งเหนียว ทนต่อการรับแรงอัดกระแทกได้เป็นอย่างดี
ประกอบด้วยรูปร่างลักษณะดังต่อไปนี้
ก. ค้อนหัวกลม (BALL PEEN HAMMER) ใช้สำหรับ ตอกตี ดัด เคาะขึ้นรูปโลหะที่มี
ความแข็ง โดยเฉพาะโลหะประเภทเหล็กบริเวณหน้าค้อนมีลักษณะเป็นวงกลม
ผิวหน้ามีความที่มีความโค้งเล็กน้อย ใช้ตอกตะปูไม่ดีเพราะจะทำให้เกิดการลื่นไถล
ส่วนด้านหลังของค้อนจะมีลักษณะทรงกลม ใช้ในการเคาะขึ้นรูปโลหะแผ่น
ข. ค้อนเดินสายไฟ เป็นค้อนที่ทำจากเหล็กกล้าชุบแข็งเหนียวเช่นเดียวกันมีลักษณะ
คล้ายกับค้อนตีเหล็ก แต่มีขนาดเล็กกว่า โดยเฉพาะบริเวณผิวหน้าที่เป็นสี่เหลี่ยมนั้น
บริเวณเหลี่ยมทั้ง 4 ของหัวค้อนจะถูกลบมุมออก ซึ่งสามารถตอกตะปูตัวเล็ก ๆ ใน
การเดินสายไฟได้เป็นอย่างดี มีทั้งขนาด 150 กรัม และ 200 กรัม
ค. ค้อนหัวแพะหรือค้อนช่างไม้(CARPENTER HAMMER) ด้านบนมีลักษณะโค้งงอส่วน
โคนจะหนา ส่วนปลายจะบาง มีร่องแยงออกตรงกลาง เป็นมุมแหลม มองดูแล้วคล้าย
กับหัวแพะ ซึ่งใช้สำหรับถอนตะปูหรือใช้งัดชิ้นงาน ส่วนล่างมีลักษณะกลม ผิวหน้า
แบนเรียบ เหมาะสำหรับช่างไม้ใช้ตะปูทำไม่ลื่นขณะตอก
2. ค้อนหัวอ่อน เป็นค้อนที่ทำจากโลหะ หรือ วัสดุที่อ่อน เหมาะสำหรับเคาะดัดงานที่มีเนื้ออ่อน
เช่น แผ่นอะลูมิเนียม ทองแดง เพื่อป้องกันผิวหน้าของโลหะเป็นรอย หรือเสียความมันเงางามของผิว
โลหะไป มีหลายชนิดดังนี้ คือ
ก. ค้อนพลาสติก หัวค้อนทำด้วยพลาสติกแข็งประกอบติดกับแท่งอะลูมิเนียมหล่อด้วย
การขันเกลียว สามารถถอดเปลี่ยนขนาดน้ำหนักของหัวค้อนได้
ข. ค้อนยาง หัวค้อนทำด้วยยางที่มีส่วนผสมทางเคมี มีสีดำลักษณะยางเหนียวและนุ่ม
เหมาะสำหรับดัดขึ้นรูปโลหะแผ่นบางมาก ๆ หรืองานที่มีเนื้ออ่อน เพื่อช่วยรักผิวงาน
ดังรูปที่
ส่วนประกอบของ ค้อน
ค้อนประกอบด้วย
– หัวค้อน(HEAD) มีหน้าค้อน (STRIKING FACE) และหัวค้อน (PEIN)
การจับและใช้ค้อน
การจับด้ามค้อนควรจับให้ค่อนมาทางปลายด้ามให้ห่างตัวค้อน เพื่อให้การตอกมีน้ำหนักและ
ออกแรงยกหัวค้อนด้วยการขยับมือขึ้น-ลงให้น้ำหนักค้อนสัมผัสเต็มหน้ากับชิ้นงาน และทำมุม 90º กับ
ผิวงาน ถ้างานจับในปากกา เพื่อฝึกใช้ค้อนตอกแรง ๆ ควรมีแท่งไม้เนื้อแข็งรองรับการเหวี่ยงค้อน
พยายามให้จุดข้อศอก เป็นจุดหมุนจะทำให้การตอกด้วยค้อนแม่นยำขึ้น
การเพิ่มแรงในการตอกงานด้วยค้อน ได้จากการเพิ่มระยะโค้งของการเหวี่ยงค้อนในแนวตั้งให้
สูงขึ้น
การจับค้อน
ขอบคุณที่มา: http://www.pteonline.org/img-lib/staff/file/komson_000516.เครื่องมือทั่วไป.pdf
เสนอโดย