บทความ ริคเตอร์ การวัดความสั่นสะเทือนแผ่นดินไหว วัดกันอย่างไร

การวัดความสั่นสะเทือนของแผ่น ดินไหวใช้เครื่องมือที่เรียกว่า ไซส์โมกราฟ (seismographs) การวัดความสั่นสะเทือนมีมาตราวัดอยู่ 2 มาตรา คือ ริคเตอร์ และ เมอแคลลี่
ขนาดของแผ่นดินไหว หมายถึง จำนวนหรือปริมาณของพลังงานที่ถูกปล่อยออกมาจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวในแต่ละ ครั้ง การหาค่าขนาดของแผ่นดินไหวทำได้โดยวัดความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวที่บันทึก ได้ด้วยเครื่องตรวดวัดแผ่นดินไหว แล้วคำนวณจากสูตรการหาขนาด ซึ่งคิดค้นโดย ชาลส์ ฟรานซิส ริกเตอร์ และนิยมใช้หน่วยวัดขนาดของแผ่นดินไหวคือ “ริกเตอร์” โดยสูตรการคำนวณมีดังนี้
กำหนดให้
- M = ขนาดของแผ่นดินไหว (ริกเตอร์)
- A = ความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวที่สูงที่สุด
= ความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวที่ระดับศูนย์
โดย ขนาดของแผ่นดินไหว ในแต่ละระดับจะปล่อยพลังงานมากกว่า 30 เท่าของขนาดก่อนหน้า เช่น 4 กับ 5 ริกเตอร์ แผ่นดินไหวขนาด 5 ริกเตอร์จะปล่อยพลังงานออกมามากกว่า 4 ริกเตอร์ 30 เท่า, แผ่นดินไหวขนาด 7 ริกเตอร์จะปล่อยพลังงานออกมามากกว่า 5 ริกเตอร์ = 30×30 = 900 เท่า เป็นต้น
ความรุนแรงของแผ่นดินไหว (อังกฤษ: Intensity) ที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งนั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรงที่รู้สึกได้มากน้อยเพียง ใด และขึ้นอยู่กับระยะทางจากศูนย์กลางแผ่นดินไหว ความเสียหายจะเกิดขึ้นในบริเวณใกล้เคียงกับศูนย์กลางแผ่นดินไหว และจะลดหลั่นลงไปตามระยะทางที่ห่างออกไป ดังนั้น การสูญเสียจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความรุนแรงของแผ่นดินไหวโดยตรง สำหรับการวัดขนาดของแผ่นดินไหวมีหลายวิธี เช่น มาตราวัดขนาดของแผ่นดินไหวแบบริกเตอร์ และแบบเมอร์แคลลี่
มาตราริกเตอร์
ขนาดและความสัมพันธ์ของขนาดโดยประมาณกับความสั่นสะเทือนใกล้ศูนย์กลาง
ริกเตอร์ | ความรุนแรง | ลักษณะที่ปรากฏ |
1 – 2.9 | เล็กน้อย | ผู้คนเริ่มรู้สึกถึงการมาของคลื่น มีอาการวิงเวียนเพียงเล็กน้อยในบางคน |
3 – 3.9 | เล็กน้อย | ผู้คนที่อยู่ในอาคารรู้สึกเหมือนมีอะไรมาเขย่าอาคารให้สั่นสะเทือน |
4 – 4.9 | ปานกลาง | ผู้ที่อาศัยอยู่ทั้งภายในอาคาร และนอกอาคาร รู้สึกถึงการ สั่นสะเทือน วัตถุห้อยแขวนแกว่งไกว |
5 – 5.9 | รุนแรง | เครื่องเรือน และวัตถุมีการเคลื่อนที่ |
6 – 6.9 | รุนแรงมาก | อาคารเริ่มเสียหาย พังทลาย |
7.0 ขึ้นไป | รุนแรงมาก | เกิดการสั่นสะเทือนอย่างมากมาย ส่งผลทำให้อาคารและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เสียหายอย่างรุนแรง แผ่นดินแยก วัตถุบนพื้น ถูกเหวี่ยงกระเด็น |
มาตราเมร์กัลลี
อันดับที่และลักษณะความรุนแรงโดยเปรียบเทียบ
เมร์กัลลี | ลักษณะที่ปรากฏ |
I. | อ่อนมาก ผู้คนไม่รู้สึก ต้องทำการตรวจวัดด้วยเครื่องมือเฉพาะทางเท่านั้น |
II. | คนที่อยู่ในตึกสูง ๆ เริ่มรู้สึกเพียงเล็กน้อย |
III. | คนในบ้านเริ่มรู้สึก แต่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้สึก |
IV. | ผู้อยู่ในบ้านรู้สึกว่ามีอะไรบางอย่างมาทำให้บ้านสั่นเบา ๆ |
V. | คนส่วนใหญ่รู้สึก ของเบาในบ้านเริ่มแกว่งไกว |
VI. | คนส่วนใหญ่รู้สึก ของหนักในบ้านเริ่มแกว่งไหว |
VII. | คนตกใจ สิ่งก่อสร้างเริ่มมีรอยร้าว |
VIII. | อาคารธรรมดาเสียหายอย่างมาก |
IX. | สิ่งก่อสร้างที่ออกแบบไว้อย่างดีตามหลักวิศวกรรม เสียหายมาก |
X. | อาคารพัง รางรถไฟงอเสียหาย |
XI. | อาคารสิ่งก่อสร้างพังทลายเกือบทั้งหมด ผิวโลกปูดนูนและเลื่อนเป็นคลื่นบน พื้นดินอ่อน |
XII. | ทำลายหมดทุกอย่าง มองเห็นเป็นคลื่นบนแผ่นดิน |
ทั้ง นี้ เครื่องมือสำหรับวัดการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว เรียกว่า “ไซสโมกราฟ” (seismographs) แต่ในปัจจุบันใช้ทั้งระบบเครือข่ายสถานีตรวจวัดแผ่นดินไหวในระดับแต่ละ ประเทศ และเครือข่ายในระดับโลกเพื่อการวิเคราะห์ตำแหน่ง ขนาดและเวลาเกิดของเหตุการณ์แผ่นดินไหวได้อย่างรวดเร็ว
ประเทศไทย เริ่มมีการตรวจแผ่นดินไหว เมื่อปี พ.ศ. 2506 สถานีตรวจแผ่นดินไหวแห่งแรกของกรมอุตุนิยมวิทยา ติดตั้ง ณ จังหวัดเชียงใหม่ โดยเข้าร่วมอยู่ในเครือข่ายระบบมาตรฐานโลก Worldwide Standardized Seismograph Network : WWSSN และต่อมาปรับเปลี่ยนเป็นระบบเครือข่าย Incorporated Research Institution of Seismology : IRIS ซึ่งเป็นเครือข่ายโดยความร่วมมือของสถาบันการศึกษาหลายแห่ง ในสหรัฐอเมริกาและบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ขอบคุณที่มาจาก: http://www.gracezone.org/index.php/-2012/1115-intensity-seismographs
เรียบเรียงโดย